วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เรียนทันตแพทย์ต้องสอบอะไรบ้างน๊าาาาาาาา

การเข้าเรียนในหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต

1. สอบตรง
     รับนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้น ม.6 ทางมหาวิทยาลัยมีการเปิดรับเอง สอบเข้าโดยข้อสอบของมหาวิทยาลัย เกณฑ์การรับจะแตกต่างกันแล้วแต่สถาบัน

2. สอบตรง กสพท.
     รับนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือผู้สำเร็จการศึกษาชั้น ม.6 สมัครผ่านกสพท. สำหรับปีการศึกษา 2553 ใช้คะแนนต่าง ๆ ดังนี้
คะแนน O-NET 0% (คิดจาก 5 กลุ่มสาระวิชา คะแนนรวมเท่ากับหรือมากกว่า 60%)
คะแนนวิชาสามัญ 70% (จัดสอบโดยกสพท. แต่ละวิชาต้องได้เท่ากับหรือมากกว่า 30%)
คะแนนวิชาเฉพาะ 30% (จัดสอบโดยกสพท.)
ซึ่งสถาบันที่รับแบบนี้ คือ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.มหิดล คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ

3. แอดมิชชั่นกลาง
    รับนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือผู้สำเร็จการศึกษาชั้น ม.6 ใช้คะแนน GPAX 20%, O-NET 30%, GAT 30%, PAT 2 20%

คำแนะนำในวิชาชีพทันตแพทย์จากรุ่นพี่

        สิ่งที่อยากจะมาบอกเล่ากับเพื่อนๆ หรือนักเรียนม.ปลาย ที่อยากจะเรียนทันตแพทย์เหมือนเรา ก่อนที่เราคิดว่าจะเป็นอะไร เราควรรู้ตัวเองก่อนว่าเราชอบอะไร สนุกกับมันไหม พร้อมที่จะรับมันได้ไหม และเราควรที่จะศึกษาหนทางที่เราจะก้าวเดินว่ามันเหมาะกับตัวเราหรือไม่ ซึ่งมันก็อาจจะหาคำตอบตรงนี้ยากพอดูเหมือนกัน
   เราได้ลองเข้าค่าย ถามประสบการณ์จากพี่ๆนักศึกษาทันตแพทย์ พี่ๆเค้าบอกว่า
สิ่งที่เราต้องเจอในเมื่อเข้ามาเรียนทันตแพทย์แล้วคือ

    1.ทันตแพทย์จะเรียนทั้งหมด 6 ปี 3ปีแรกจะเป็นการเรียนทฤทฎีในห้องเรียน แต่พอขึ้นปีที่ 4 จะต้องทำพรีคลีนิกเพื่อนักศึกษาด้วยกันเอง พอปีที่ 5 ก็จะเริ่มรักาคนไข้ได้
พอเรียนจบต้องรับราชการ 3ปี หรืออาจจะใช้ทุนได้

    2. คนที่ชั่งใจอยู่ว่าจะเรียนแพทย์หรือทันตแพทย์ดี พี่ๆบอกว่าแตกต่างกันมาก
คนที่เรียนแพทย์ต้องเก่งด้านวิชาการ เน้นด้านวิชาการ ต้องท่องตำรา แต่เรียนทันตแพทย์ก้อเน้นวิชาการแต่ไม่ล้วนๆ เท่าแพทย์ ทันตแพทย์ต้องเข้าแลปเยอะมากๆ บางคนที่ว่าเก่ง ๆอ่านหนังสือมาเยอะสอบข้อเขียนเต็ม บางคนก็มาตกแลป
ไม่จบก็มี

    3. คนที่อยากเป็นทันตแพทย์ ไม่ใช่ว่าจะเก่งด้านวิชาการ เก่งคณิตศาสตร เก่งชีววิทยา เก่งวิชาการต่างๆแล้วจะเรียนไปรอด แต่คนที่อยากเป็นทันตแพทย์ ควร
ที่มีศิลป์ รักในศิลปะ เค้าบอกว่า การที่เราจะอุดฟัน ทำฟันของคน ต้องมีการใช้ศิลปะในการรักษา หรือสร้างสันช่องปาก ให้เนียนที่สุด

   4. นักศึกษาทันตแพทย์ทุกคนจะต้องมีจรรยาบรรณ และจะมีคล้ายๆในการเรียน
วิชาจรรยาบรรณ เพราะไม่ว่าจะทันตแพทย์ แพทย์ หรือสาขาที่คอยรักษาคน
จะขาดจรรยาบรรณไม่ได้ เพราะจะต้องทำงานกับชีวิตคน คนเป็น ๆ ถ้าใจไม่ถึงไม่ควรเรียน และไม่ควรเสี่ยงที่จะเรียน

   5. พี่ๆเค้าบอกว่า เวลาที่ยากลำบากที่สุดในการเรียนทันตแพทย์คือ ตอนใกล้จะจบ
นักศึกษาทันตแพทย์ จะได้คนไข้แล้วแต่ละเคสก็ยาก ๆ ทั้งนั้นบางคนก็รักษาเด็ก คอยตรวจฟันอย่าให้ฟันพุ บางคนก็เป็นหนอง บางคนก็ได้รักษาคนสูบบุหรี่ โดยต้องโทษไปเช็คตลอดว่า แปรงฟันหรือยัง??  ทำตามที่หมอสั่งไหม?? กินลูกอมหรือเปล่า??  ถ้าคนไข้ไม่ทำตาม หรือไม่หายจากอาการทางช่องปากที่เรารักษา เราก็จะไม่จบ ซึ่งพี่ๆเค้าบอกว่า
        
            "มันเป็นเรื่องยากมากๆ ที่จะคอยให้ใครคนหนึ่งทำตามที่เราบอก"

   6. ถ้าจะเรียนควรเตรียมใจไว้เยอะ ๆ และต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้น
ในสาขานี้อาจจะโดนอาจารย์หมอดุด่ามากที่สุด บางคนก็เครียดจัดที่โดนว่า
เลิกเรียนไปเลยก็มี แต่ไม่สำคัญเพราะสาขาอาชีพนี้ทำงานกันคนเป็น ๆ
จึงต้องเข้มงวดมาก อาจารย์หมอจะว่ากล่าวบางคงไม่แปลก

นี่เป็นส่วนหนึ่งที่เราได้จากรุ่นที่จากนักศึกษาทันตแพทย์ หวังว่าคงเป็นประโยชน์
บ้างกับเพื่อน ๆ ที่สนใจใน "ทันตแพทย์" เหมือนกับเรา เราว่าทางที่ดีที่อยากจะรุ้จักตัวตนของเรามากขึ้น หรืออยากรุ้สาขาอาชีพที่เราสนใจ การได้พูดคุยกับบุคคลที่อยุ่ตรงนั้น และการที่เราได้เข้าค่ายหาประสบการณ์ คงจะช่วยในการตัดสิดใจที่ดีขึ้น

คุณธรรม 10 ประการ (จรรยาบรรณแพทย์)

1. มีเมตตาจิตแก่คนไข้ ไม่เลือกชั้นวรรณะ
2. มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ยกตนข่มท่าน
3. มีความละอาย เกรงกลัวต่อบาป
4. มีความละเอียดรอบคอบ สุขุม มีสติใคร่ครวญเหตุผล
5. ไม่โลภเห็นแก่ลาภของผู้ป่วยแต่ฝ่ายเดียว
6. ไม่โอ้อวดวิชาความรู้ให้ผู้อื่นหลงเชื่อ
7. ไม่เป็นคนเกียจคร้าน เผลอเรอ มักง่าย
8. ไม่ลุอำนาจแก่อคติ 4 คือ ความลำเอียงด้วยความรัก
ความโกรธ ความกลัว ความหลง (โง่)
9. ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งที่เป็นโลกธรรม 8 คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข และความเสื่อม
10. ไม่มีสันดานชอบความมัวเมาในหมู่อบายมุข 

ที่มา :  http://footreflexologymasage.blogspot.com/2009/01/10.html

วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการเป็นทันตแพทย์...



ผมเป็นคนชอบเล่นเวปบอร์ดหรือกระดานสนทนามาก โดยเฉพาะเวปบอร์ดที่มีเนื้อหาสาระที่ผมสนใจและที่ผมมีความรู้จะชื่นชอบเป็นพิเศษ เพราะนอกจากเราจะได้ความรู้เพิ่มขึ้นในสิ่งที่เราสนใจด้วยแล้ว เรายังสามารถแนะนำสิ่งที่เรารู้แก่คนอื่นที่ต้องการอีกด้วย ถือว่าเป็นประโยชน์มากสำหรับส่วนตัวและส่วนรวม แตกต่างจากยุคสมัยก่อนที่ต้องวิ่งเข้าห้องสมุดหรือสอบถามจากผู้รู้โดยตรงเท่านั้น

มีอยู่วันหนึ่ง ผมเกิดอยากทราบกระแสของเด็กแอดมิชั่น ณ เวลานั้นว่าเขาชื่นชอบและสนใจจะเรียนคณะใดบ้าง คณะใดฮิตติดตลาดเป็นอันดับต้นๆบ้าง และมีอะไรแปลกใหม่ทันสมัยไปกว่าสมัยก่อนที่ผมยังเป็นนักเรียนหรือไม่

สมัยก่อนจำได้ว่าสมัยผมเพื่อนๆจะอยากเรียนวิศวะกรรมศาสตร์มากเป็นอันดับ 1 ส่วนทันตแพทย์นั้นไม่ค่อยนิยมเท่าไหร่

สิ่งที่ผมพบจากเวปไซด์และเวปบอร์ดต่างๆ ผมรู้สึกว่าคณะแพทยศาสตร์และทันตแพทย์เป็นที่สนใจของเด็ก ม.ปลายกันมากมาย ดูเหมือนจะมากกว่าสมัยที่ผมเป็นเด็กเสียอีก ในบางเวปบอร์ดมีคนตั้งคำถามถึงคณะทันตแพทย์หลายสิบกระทู้ในเวลาเพียงไม่กี่วัน

ผมก็ไม่ทราบว่าคณะทันตแพทย์ติดอันดับที่เท่าไหร่ในใจของน้องเหล่านั้น แต่เชื่อว่ามีมากและเป็นที่สนใจอย่างสูง พอลองสอบถามกลับไปที่คณะทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ที่ซึ่งผมเรียนจบมา เขาก็เล่าให้ฟังว่าเด็ก ม.ปลายสนใจอยากจะเรียนคณะทันตแพทย์เยอะมาก มีคนประสงค์จะเข้าค่ายเรียนรู้เป็นหมอฟันหลายร้อยคนและเพิ่มมากขึ้นทุกๆปี

กลับมาที่เวปบอร์ด ผมลองไล่อ่านดูในแต่ละกระทู้ที่เกี่ยวกับคณะทันตแพทย์และการสอบเข้ามหาวิทยาลัย มีกระทู้ตั้งเป็นคำถามมากมายเป็นร้อยๆ ยกตัวอย่างดังนี้

ใครเลือกทันตจุฬา มั้งคร้าบ ใครเข้ามาขอให้ติด

รวมพลคนเลือกทันตะ

ถึงพี่พี่ทันตะนเรศวร

อ่านหนังสือยังไงให้ติดทันต ?

ทันตปีนี้มีสอบตรงที่ไหนบ้าง

ไม่ชอบงานศิลป์ วาดรูปไม่เป็น เรียนหมอฟันได้ไหมอะ

ทำไม มช. รับนักศึกษาน้อยจัง

เรียนหมอฟันหนักไหม กลัวเรียนไม่ไหวอะ


ในบรรดาหลายร้อยกระทู้ที่ผมไปขุดคุ้ยดู ผมเกิดสนใจกับกระทู้หนึ่งมากที่สุด โดยน้องเขาโพสว่า

หัวข้อ  :  แบบนี้หนูจะเป็นหมอฟันได้ไหมคะ ?

เนื้อหา   : คือหนูอยากเรียนทันต มช. มั๊กๆเลยคะ แต่หนูไม่รู้ว่าจะสอบติดไหมเพราะเพื่อนๆอยากเรียนกันเยอะมั๊กๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ หนูเองก้อไม่ค่อยขยันด้วย เขาว่าเรียนหนักมั๊กๆ และที่สำคัญคือหนูเป็นคนตัวเตี้ย และเปนคนผิวดำ คล้ำเพื่อนๆชอบแซวว่าเป็นเงาะป่า แถมหนูมีสิวเยอะมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ เปนหมอฟันต้องมีบุคคลิกดีใช่ไหมคะ อย่างนี้จะเปนหมอได้หรือคะ เพราะหมอต้องดูดี หน้าตาดี คนจึงจะเชื่อถือมากๆใช่ไหมคะ 


อ่านจบ รู้สึกทั้งตลกและสลดใจ

ตลกกับการใช้ภาษาของวัยรุ่นสมัยนี้  มั๊กๆ  มากๆ , ก้อ  ก็ , ป่าว  เปล่า อ่านดูก็ออกแนวน่ารัก แต่หวังว่าจะไม่ติดนิสัยการใช้ภาษาแบบนี้ไปจนถึงตอนเขียนรายงานส่งอาจารย์ในมหาวิทยาลัย เพราะมานม่ายดี เอ้ย  มันไม่ดี

ในส่วนที่ผมแอบรู้สึกสลดใจคือ น้องเขาเห็นความสำคัญของการเป็นหมอฟันแปลกไป อาจจะด้วยประสบการณ์ของน้องยังน้อย หรือรับรู้มาตามกระแสที่สังคมกำลังนิยมจึงคิดว่า บุคคลิก , หน้าตา , ความสวย , ความหล่อ เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีและเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเป็นทันตแพทย์

อยากจะบอกว่าถ้าหน้าตาหรือความหล่อเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเป็นทันตแพทย์ ผมคงตกสัมภาษณ์ตั้งนานแล้ว และอาจารย์ในคณะทันตแพทย์ก็คงไม่ได้มาเป็นหมอฟันหรือมาเป็นอาจารย์ของผมอีกที เพราะหลายคนก็ได้ไม่ดูหล่อเหลาเลย (ฮา)  ตรงกันข้าม ถ้าผมหน้าตาดีจริง ผมคงไปเป็นดาราดีกว่า  ไม่ต้องอ่านหนังสือสอบ ไม่ต้องทำคนไข้ รวยด้วย แถมสบายกว่ากันเยอะเลย ไม่ต้องมานั่งทำฟันหลังขดหลังแข็งอย่างทุกวันนี้


เอ.....แล้วอะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการเป็นทันตแพทย์ ?

คำถามนี้ผมไม่เคยจะสนใจเลยตลอดเวลาที่ร่ำเรียนในคณะทันตแพทย์ จนพอมาทำงานเป็นหมอฟันได้มีประสบการณ์ดูแลรักษาคนไข้ผมจึงเข้าใจ

สำหรับน้องๆที่คิดอยากจะเป็นทันตแพทย์ เมื่ออ่านแล้วบางคนคงเริ่มปลง อย่างนี้รอให้หนูเรียนทันตแพทย์จนจบแล้วค่อยตรัสรู้เองใช่ไหมเนี่ย เอาเป็นลองดูโจทย์ต่อไปนี้แล้วตัดสินใจดูเองนะครับ


ถ้าคุณสามารถเลือกได้ที่จะทำฟันกับทันตแพทย์จบใหม่ดังต่อไปนี้เพียง 1 ท่าน คุณจะไม่เลือกทำฟันกับข้อใด

ก.      หมอ เรียนจบเกียตรินิยม หล่อ    แต่  ไม่ค่อยสุภาพ พูดจาห่ามๆดิบๆ
ข.      หมอ สวย น่ารัก พูดจาไพเราะ    แต่   เรียนจบด้วยเกรดเพียง 2.01 (เกือบไม่จบ)
ค.      หมอ สุภาพ เรียนจบเกรด 3.00 หน้าตาธรรมดา    แต่   เรียนจบมหาลัยต่งจังหวัดไม่โด่งดัง
ง.       หมอ เรียนจบเกรด 3.5  สุภาพ มือเบา    แต่   หน้าตาขี้เหร่ สิวเยอะ ตาเหล่ พูดจาติดอ่าง  
จ.      หมอ เรียนจบเกียตรินิยม หล่อมาก สุภาพมาก    แต่   ชอบขี้โกงและเคยโกหกคนไข้บ่อยๆ

ทั้ง 5 คนจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ซึ่งเป็นธรรมดาของมนุษย์ทุกคนที่ย่อมมีทั้งข้อดีและเสียปะปนกัน แต่ในบรรดาข้อเสียทั้งหมดจะมีข้อเสียที่รับได้หรือเป็นข้อเสียที่ไม่มีผลเสียต่อคนอื่น
แต่ข้อเสียที่ว่า ขี้โกงและโกหก หรือไม่มีความสุจริต เป็นข้อเสียที่อันตรายมากกว่าสิวเยอะหรือตัวเตี้ย

เพราะคนที่ชอบโกหกเราจะไว้ใจเขาได้ขนาดยอมให้ทำฟันกับเราหรือไม่?
คนโกหก วันหนึ่งถ้าเขาทำฟันแล้วเกิดความผิดพลาดขึ้น เขาพร้อมจะรับผิดชอบด้วยดีหรือไม่?
จะรู้ได้อย่างไรว่าฟันคุดที่เขาผ่า หรือสิ่งที่เขาอุดฟันให้เรา เป็นงานที่ดีมีคุณภาพในเมื่อเขาเป็นคนขี้โกง ?

คำตอบที่ทุกคนน่าจะเลือกเป็นคำตอบเดียวกันคือ  จ. ไม่มีใครอยากทำฟันกับหมอที่โกหก ขี้โกง ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตใช่ไหมครับ ต่อให้จบมาจากเมืองนอก เกรดสูงแค่ไหน หรือหล่อเหลาเพียงใดก็คงไม่สามารถทำให้หมอคนนั้นเป็นคนที่มี จริยธรรม สูงขึ้นได้


ทิ้งท้ายบทความนี้กับบทความของเจ้าสัว ซีพี ที่เล่าในหนังสือของเขาถึงคุณสมบัติที่สำคัญของพนักงงานในบริษัทว่าคุณสมบัติที่สำคัญที่สุด 3 อันดับแรก คือ
1.ความซื่อสัตย์
2.ความฉลาด
3.ความขยัน

ทำไมความซื่อสัตย์ต้องอยู่อันดับ 1. ?

เพราะถ้าไร้ซึ่งความซื่อสัตย์แล้ว ข้อ 2. และ ข้อ 3.  จากข้อดีจะกลายเป็นข้อเสียทันที คือมีลูกน้องที่ฉลาดแกมโกงแถมขยันโกงเสียด้วย

ฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นพนักงานบริษัทหรือทันตแพทย์ สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับอาชีพทั้งสองคงเหมือนกาน

เอ้ย...เหมือนกัน

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ทันตแพทย์-Dentist-general

นิยามอาชีพ
 ผู้ปฏิบัติงานทันตแพทย์-Dentist-general ได้แก่ผู้ให้การรักษาโรคและความผิดปกติของฟันและช่องปากด้วยการศัลยกรรม ให้ยา และวิธีการอื่นๆ ควบคุมโรคในช่องปากของผู้ป่วย และควบคุมบริการทันตสุขภาพ รวมถึงการตรวจฟันและปากของผู้ป่วย และใส่ฟันปลอม ร่วมในการวางแผน จัดระบบงาน และดำเนินงานให้เป็นไปตาม โครงการทันตสุขภาพของหน่วยงานสาธารณสุข
ลักษณะของงานที่ทำ
 ให้การรักษาโรค และความผิดปกติของฟันและช่องปากด้วยการศัลยกรรม ให้ยา และวิธีการอื่นๆ ตรวจปากและฟันของผู้ป่วย ใช้เครื่องเอ็กซเรย์และทดสอบตามความจำเป็น เพื่อจะได้ทราบถึงลักษณะของความผิดปกติ พิจารณาผลของการตรวจและการทดสอบ และตกลงใจเลือกวิธีการรักษา หารูฟันผุ ทำความสะอาดและอุดรูฟันผุ และถอนฟันที่เป็นโรคหรือไม่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์ พิมพ์ปากและจำลองแบบของเหงือก และส่วนอื่นๆ ของปาก เพื่อใช้ในการประดิษฐ์ฟันปลอม และใส่ฟันปลอม ใส่เครื่องยึดเพื่อจัดฟันที่มีลักษณะผิดปกติ หรือเกให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง รักษาโรคฟัน ปากหรือเหงือกด้วยการใช้ยาหรือศัลยกรรม ให้ยาชาหรือวางยาสลบตามความจำเป็น อาจทำเฉพาะทางในการรักษาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมากกว่า
สภาพการจ้างงาน
 ทันตแพทย์สามารถทำงานในภาครัฐ และภาคเอกชนโดยประกอบอาชีพตามสถานบริการทันตกรรม โรงพยาบาลของรัฐ และเอกชน หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว 
ทันตแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจะได้รับเงินเดือนเทียบเท่าวุฒิปริญญาตรีทั่วไป อัตราค่าจ้างเป็นรายเดือนแตกต่างกันไปตามความรู้ และความชำนาญ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ ไม่มีประสบการณ์จะมีรายได้โดยประมาณ ดังนี้ 
  ประเภทองค์กร      เงินเดือน 
       ราชการ              6,360 
       เอกชน       12,000 - 15,000 

ทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง อาจจะต้องทำงานวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุด อาจจะต้องมี การจัดเวรอยู่ประจำโรงพยาบาล นอกจากผลตอบแทนในรูปเงินเดือนแล้ว ผู้ทำงานกับภาครัฐจะได้รับ สวัสดิการตามระเบียบของทางราชการ ส่วนผู้ที่ทำงานในภาครัฐวิสาหกิจและเอกชนอาจได้รับผลประโยชน์อย่างอื่นมากกว่าภาคราชการ เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือ สวัสดิการในรูปต่างๆ เงินประกันสังคม เงินโบนัส เป็นต้น สำหรับผู้ที่สำเร็จทันตแพทย์ที่มีเงินทุนสามารถประกอบธุรกิจส่วนตัวด้วยการเปิดคลีนิครักษาฟัน มีรายได้ขึ้นอยู่กับความสามารถ และความอุตสาหะ
สภาพการทำงาน
 ทันตแพทย์ทั่วไปจะทำงานในห้องตรวจฟันซึ่งมีอุปกรณ์ในการตรวจ และรักษาฟัน เช่น เครื่องมือต่างๆ เพื่อการขูดหินปูน ถอนฟัน ฉีดยาชา และเก้าอี้สำหรับผู้ป่วย และทันตแพทย์ โดยจะต้องมี ไฟส่องสว่างเพื่อช่วยในการตรวจฟันในปาก โดยทั่วไปทันตแพทย์จะมีผู้ช่วยทันตแพทย์ในการตรวจรักษาผู้ป่วยโดยจะช่วยในการหยิบส่งอุปกรณ์ในการตรวจรักษาฟัน ในบางครั้งอาจจะมีผู้ป่วยที่เป็นเด็ก ซึ่งการตรวจรักษาอาจจะยุ่งยากกว่าผู้ใหญ่เนื่องจากเด็กจะมีความกลัวและไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจฟัน ทันตแพทย์ต้องมีจิตวิทยาในการหลอกล่อเด็กให้ความร่วมมือโดยการอ้าปาก เพื่อทำการตรวจรักษา รวมทั้งต้องระวังการถูกกัดนิ้วมือขณะทำการตรวจรักษาให้เด็กที่กำลังกลัวและโกรธ
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
 1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางทันตแพทย์ 
2. มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี 
3. มีความรู้ในการค้นและการประดิษฐ์ 
4. มีสุขภาพแข็งแรง บุคลิกดี รู้หลักจิตวิทยา คล่องแคล่ว พูดจาเก่ง 
5. มีฐานะทางการเงินดีพอสมควร 
6. มีความซื่อสัตย์ในวิชาชีพของตน มีคุณธรรมและจริยธรรมทางการแพทย์ ไม่ใช้ความรู้ทางวิชาการของตนไปหลอกลวงหรือทำลายผู้อื่น 
ผู้สนใจประกอบอาชีพทันตแพทย์ต้องเตรียมตัวเข้าสู่อาชีพ : เมื่อสำเร็จหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรอื่นที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า และสามารถสอบผ่านวิชาต่างๆ ในการ คัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจนการสอบสัมภาษณ์และการตรวจร่างกาย หลักสูตรวิชาทันตแพทย์ระดับปริญญาตรีตามปกติใช้เวลาเรียน 5 ปี โดยมีสถาบันที่เปิดสอนวิชาการแพทย์ระดับปริญญาหลายแห่งในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย เช่นมหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น เมื่อครบหลักสูตรแล้วจะได้รับใบอนุญาตประกอบเวชกรรมของแพทยสภา มีสิทธิประกอบอาชีพแพทย์ได้ ตามกฎหมาย
โอกาสในการมีงานทำ
 ผู้ที่สำเร็จการศึกษาทางทันตแพทย์หากมีความขยันอุตสาหะจะไม่มีการตกงาน เนื่องจาก นอกเหนือจากการเข้าทำงานในโรงพยาบาลของรัฐบาลหรือเอกชนแล้ว ยังสามารถประกอบอาชีพส่วนตัวด้วยการเปิดคลีนิครักษาโรคฟันได้ ซึ่งการรักษาฟันรวมถึงการทำศัลยกรรมฟัน เช่น ทำเขี้ยว และอื่นๆ กำลังเป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไปกันมากขึ้น
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
 ผู้สำเร็จการศึกษาจะต้องใช้ทุนให้กับรัฐบาลในสายงานที่เรียนมา โดยประจำอยู่ในโรงพยาบาล ของรัฐ หรือสถานพยาบาล ศูนย์อนามัยของกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุขเป็นเวลา 2 ปี เมื่อใช้ทุนแล้วจะทำงานประจำต่อในหน่วยงานของรัฐ หรืออาจจะไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก หรือเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย หรือประกอบอาชีพอิสระโดยตั้งคลีนิครักษาเป็นส่วนตัวและทำงานในโรงพยาบาลเอกชนก็ได้ 
ถ้ารับราชการต่อไปก็จะได้รับการเลื่อนขั้น และเลื่อนตำแหน่งตามระเบียบของทางราชการ เช่น เป็นหัวหน้าภาควิชา เป็นต้น
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
 ผู้ชำนาญพิเศษทางทันตกรรม ทันตแพทย์ฝ่ายป้องกัน และสาธารณสุข ช่างเทคนิคการแพทย์ อาจารย์ทางวิชาทันตแพทย์ศาสตร์
แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
 ทันตแพทย์สมาคม ทันตแพทยสภา http://www.thaidental.org http:// www.thaitist.org การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)


แสดงอาชีพอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับในหมวดนี้

  • จักษุแพทย์ Ophthalmologist
  • จิตแพทย์ Psychiatrist
  • ทันตแพทย์ Dentist general
  • นักเคมี Chemist
  • นักจิตวิทยา Psychologist
  • นักชีววิทยา Biologist
  • นักเทคนิคการแพทย์ นักเทคโนโลยีการแพทย์ Medical Technologist
  • นักฟิสิกส์ Physicists
  • นักโลหะกรรม Metallurgists
  • นักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ System Analyst
  • นักวิเคราะห์การตลาด Marketer, Marketing Analyst
  • นักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม Environmental Analyst
  • นักวิจัย (สัตววิทยา) Researcher (Zoologist)
  • นักเศรษฐศาสตร์ Economists
  • นักสถิติ Statistician
  • ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ นักวางผังเพื่อการประมวลผล Computer Programmer
  • ผู้บริหารระบบข่าวสาร Management Information System (MIS) Manager
  • ผู้วางแผนการผลิต Production Planner
  • พนักงานเครื่องประมวลผลอัตโนมัติ(คอมพิวเตอร์) Automatic Data Processing Machine Operators (Computer Operators) เสมียนคำนวณข้อมูล หรือ เสมียนคำนวณข้อมูลทางคอมพิวเตอร์
  • นักรังสีเทคนิค เจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์ รังสีแพทย์ X-ray Technicians, X-ray Operator ,medical
  • แพทย์ทั่วไป Physician, general practice
  • เภสัชกร Pharmacist
  • วิศวกรไฟฟ้าทั่วไป Electrical Engineer, General
  • วิสัญญีแพทย์ Anesthetist
  • ศัลยแพทย์ Surgeon
  • สัตวแพทย์ทั่วไป Veterinarian, general
  • บทบาทของทันตแพทย์เฉพาะทางในโรงพยาบาล

                    บทบาททางทันตกรรมใน Total health care นั้นมีมากขึ้นทำให้มีการร่วมมือระหว่างวิชาชีพด้านงานชุมชนและในโรงพยาบาลที่มีทันตแพทย์และผู้ป่วยเฉพาะทางมีมากขึ้น
               

                    การแพทย์มีพัฒนาจาก General practice ไปสู่การแพทย์เฉพาะทางมากขึ้นและโรงพยาบาลก็เปลี่ยนจากการให้บริการด้าน acute primary care เป็นหลักไปสู่การดูแล total health care ทุกรูปแบบ ได้แก่ ศัลยกรรม อายุรกรรม สูตินรีเวช การพยาบาล พยาธิวิทยา กุมารเวชกรรมและล่าสุดได้แก่ dental medicine ซึ่งรวมกับทันตแพทย์เฉพาะทางเพื่อรักษาและเป็นที่รับ refer ผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของช่องปากและฟันมาเพื่อขอคำปรึกษา ประเมิน วินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยที่มักจะได้รับการส่งต่อมายังแผนก ได้แก่ 
                   1.ผู้ป่วย trauma 
                   2.Emergency dental and oral pathologic problems 3.Medically compromised patient

    Oral surgeon 
                    ทำหน้าที่ประเมินการรักษาทางทันตกรรมใน medically compromised patient และช่วยประสานการ consult ระหว่างแผนกเขาเป็นผู้ที่ได้ประเมินรอยโรคที่น่าสงสัยในช่องปากในระยะเริ่มแรก ทำให้คนไข้ได้รับการรักษาเร็วและรักษาชีวิตเอาไว้ได้นอกจากนี้ยังทำ เพื่อรักษาด้านทันตกรรมในผู้ป่วย oral surgeon ยังช่วย head and neck surgeon ในการผ่าตัดและเป็น reconstructive surgeon ที่เตรียมช่องปากเพื่อใส่ prosthesis หรือเป็นผู้บูรณะ mandible ที่ถูกตัดโดยใช้ bone graft Oral surgeon จะร่วมมือกับ orthodontist ในการแก้ไข occlusal and jaw deformities ดังนั้น โรงพยาบาลจึงจำเป็นต้องมี oral surgeon อยู่ใน health team ด้วย 

    Periodontist 
                    ช่วยประเมินหาจุดกำเนิด infection จาก periodontium เป็นหนึ่งในผู้ชี้ขาดว่าจะเก็บฟันในผู้ป่วยฉายรังสีได้หรือไม่ และให้คำปรึกษาแก่ oral surgeon เรื่อง new occlusion จากการทำ orthognathic surgery อีกด้วย 

    Pedodontist
                     เป็นที่ปรึกษากรณีปัญหาของผู้ป่วยพิเศษ เช่น cleft lip, cleft palate,craniofacial anomalies, medically compromised patient with congenital or acquired debilitating illnesss of childhood โดยร่วมกับกุมารแพทย์ในการประเมินการเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็กในเรื่อง stomatognathic system

    Prosthodontist 
                     มักเป็นที่ต้องการในโรงพยาบาลที่มีการรักษาด้าน oncology เพราะมีความสำคัญในการวางแผนการรักษา, การทำ special reconstructive and replacement therapy บางบริเวณ maxillofacial prosthodontist จะร่วมกับ oral medicine specialist ในการ follow up ผู้ป่วยมะเร็ง และประเมินผู้ป่วย cleft lip and palate ที่จะทำ surgery หรือ obtulators prosthodontist จะได้รับการ consult ในเรื่อง orthognathic surgery ไปจนถึงเรื่อง occlusion รวมถึงการทำ special fixation devices ด้วย 

    Oral medicine 
                      เป็นบุคคลที่พบกับผู้ป่วยเป็นคนแรก เป็นผู้รวบรวมประวัติและข้อมูล lab, ทบทวนประวัติทางการแพทย์,ประวัติทางทันตกรรมและ บันทึกของทางโรงพยาบาล , evaluate oral manifestration of systemic disease จากนั้นจะไป consult ทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่นเมื่อจำเป็นเพื่อให้ได้ definitive care จึงเป็นทั้งผู้ประสานงานและเป็นผู้ให้การดูแลฉุกเฉินสำหรับ stomatitis, gingivitis, relief pain ในผู้ป่วยนอก 

    Oral pathologist 
                      เป็นผู้ประเมิน oral mucosa, jaw bone, odontogenic and malignant lesions of head and neck ดังนั้น oral pathologist จึงเป็นบุคคลสำคัญใน tumor boards ของโรงพยาบาล

    Orthodontist 
                      เป็นที่ปรึกษากรณี case เด็กที่มี malocclusion หรือมีความผิดปกติในการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่จะนำไปสู่การมี malocclusion เขายังทำงานกับกลุ่มคลินิกพิเศษอื่น เช่น cleft lip, cleft palate และพวก craniofacial anomalies ซึ่งต้องมีการ evaluate การเจริญพัฒนาการและ deformities ที่เกิดขึ้น 

    Endodontist 
                      ให้การปรึกษาเกี่ยวกับการเก็บฟัน endodontically questionable tooth ว่าสามารถเก็บได้หรือไม่ ซึ่งฟันซี่นั้นอาจเป็นฟันหลักสำหรับฟันปลอมติดแน่นหรือ RPD หรือในกรณีที่เป็นผู้ป่วยมะเร็งที่ต้องรับการฉายแสง 

    ย่อความจาก 
                       Henry MG and Louis HG. The role of the dental specialist in the hospital. Symposium on hospital dental practice. Dental Clinic of North America 1975;10;665-674 มักเป็นที่ต้องการในโรงพยาบาลที่มีการรักษาด้าน

    อยากเป็นทันตแพทย์ต้องสอบอะไรบ้าง

    การเข้าเรียนในหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต

    1. สอบตรง
         รับนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้น ม.6 ทางมหาวิทยาลัยมีการเปิดรับเอง สอบเข้าโดยข้อสอบของมหาวิทยาลัย เกณฑ์การรับจะแตกต่างกันแล้วแต่สถาบัน

    2. สอบตรง กสพท.
         รับนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือผู้สำเร็จการศึกษาชั้น ม.6 สมัครผ่านกสพท. สำหรับปีการศึกษา 2553 ใช้คะแนนต่าง ๆ ดังนี้
    คะแนน O-NET 0% (คิดจาก 5 กลุ่มสาระวิชา คะแนนรวมเท่ากับหรือมากกว่า 60%)
    คะแนนวิชาสามัญ 70% (จัดสอบโดยกสพท. แต่ละวิชาต้องได้เท่ากับหรือมากกว่า 30%)
    คะแนนวิชาเฉพาะ 30% (จัดสอบโดยกสพท.)  
    ซึ่งสถาบันที่รับแบบนี้ คือ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.มหิดล คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ 

    3. แอดมิชชั่นกลาง
        รับนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือผู้สำเร็จการศึกษาชั้น ม.6 ใช้คะแนน GPAX 20%, O-NET 30%, GAT 30%, PAT 2 20%